วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต



ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
            ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

ความหมายของข้อมูล
            ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว

ความหมายของสารสนเทศ
            สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
              มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน


- ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
- บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
- ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ 

ประเภทของคอมพิวเตอร์
                ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามความสามารถในการเก็บข้อมูลและความเร็วในการประมวลผล ได้ 4 ประเภท คือ


1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงสุด


2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในองค์กรเพื่อประมวลข้อมูลจำนวนมาก


3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือ ทำงานได้ช้ากว่า


4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC)

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
                สมัยโบราณมนุษย์รู้จักการนับด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น นับเศษไม้ ก้อนหิน ลูกปัด การใช้นิ้วมือ การขีดเป็นรอย ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องมือนับเรียกว่า ลูกคิด” (Abacus) โดยได้แนวคิดจากการเอาลูกปัดร้อยเก็บเป็นพวงในสมัยโบราณ จึงนับได้ว่าลูกคิดเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์คิดขึ้นเป็นสิ่งแรกของโลกเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกคิดคำนวณของเด็ก ๆ ที่ฉลาด ครูได้นำเอาลูกคิดมาใช้ช่วยในการฝึกคิดให้กับเด็กและได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง
                - ยุคแรก  อยู่ระหว่างปี  พ.ศ. 2488  ถึง  พ.ศ. 2501  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง  จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย  ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก  การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขยุ่งยากซับซ้อน
                - ยุคที่สอง  อยู่ระหว่างปี  พ.ศ. 2502 ถึง  พ.ศ. 2506  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์  โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ  มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองของสื่อบันทึกแม่เหล็ก
                - ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม IC โดยวงจรแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์
                - ยุคที่สี่  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2513 ถึง  จนถึงปัจจุบัน  เป็นยุคคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก
                -  ยุคที่ห้า  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและการแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น  โดยมีการเก็บความรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง

อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

                อินเทอร์เน็ต  คือ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 เครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถือกำเนิดเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก
                - อินทราเน็ต  ( Intranet)  คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในองค์กรเดียวกัน
                - เอ็กซ์ทราเน็ต  คือ  ระบบเครือข่ายที่เชื่อมระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่มีอินทราเน็ตเข้าด้วยกัน

ระบบชื่อโดเมน (Domain name server)
                DNS ย่อมาจาก Domain Name System คือระบบลำดับชั้นแบบกระจายของชื่อของทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อเครือข่าย
                - Name Server มีหน้าที่หลักในการแปลชื่อทรัพยากรเป็นที่อยู่ไอพี (IP address) เพื่อให้ผู้ใช้งานจดจำเพียงชื่อทรัพยากรแทนการจดจำที่อยู่ไอพีที่เป็นตัวเลขอาจจะทำให้สับสนได้ และยังมีหน้าที่ในการแปลที่อยู่ไอพีไปเป็นชื่อโฮสต์ (Host name) ที่เรียกว่า "Reverse Lookup"
                - Domain name เป็นชื่อที่ใช้ระบุกลุ่มทรัพยากรเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน DNS เพื่อให้จดจำได้ง่าย โดยชื่อต่างๆจะมีผู้ดูแลบัญชี (Registrar) เป็นผู้ดูแลจัดการ ระบบชื่อโดเมน มีประโยชน์เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้น และการบริหารเครือข่ายทำได้ดีจึงมีการกำหนดชื่อแทนรหัส IP โดยมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง


 Domain name ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น
                .com  คือ  กลุ่มธุรกิจการค้า
                .edu   คือ  กลุ่มการศึกษา
                .gor    คือ กลุ่มองค์กรรัฐบาล
Domain name ชื่อย่อของประเทศ เช่น
                .th      คือ Thailand
                .hk     คือ  Hong Kong  
                .jp คือ japan                                                                                    
                .sg  คือ  Singapore
 Sub Domain
                .co    คือ องค์การธุรกิจ
                .ac    คือ สถาบันการศึกษา
                .go    คือ หน่วยงานรัฐบาล
                .or     คือ องค์กรอื่น ๆ

                โปรโตคอล  คือ  มาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ  ภาษาที่ใช้สื่อสารบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                Freeware  คือ  โปรแกรมฟรี
                Shareware  คือ  โปรแกรมที่ใช้ดาวน์โหลดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                WWW ( World  Wide  Web )  คือ  เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากที่สุดบริการหนึ่ง
                HTTP (  Hypertext  Transfer  Protocol  ) คือ  เป็นโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างบราวเซอร์และเว็บเซอร์ฟเวอร์
                URL  คือ  ที่อยู่หน้าเว็บเพจ
                เว็บไซต์  Website  คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ
                เว็บเพจ  คือ  คำที่ใช้เรียกแทนหน้าเอกสาร HTML
                โฮมเพจ  คือ  หน้าแรก
                HTML  คือ  เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บเพจ



วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี (ต่อ)


ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
        เทคโนโลยีการศึกษา  หมายถึง  การนำเอาหลักแนวคิด วิธีการต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  มาประยุกต์ใช้ให้กับกระบวนการการจัดการศึกษา

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การออกแบบ  คือ  การนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาวางแผน
2.การพัฒนา  คือ  การเปลี่ยนแปลงและแก้ไขการออกแบบเผื่อให้ดีขึ้น
3.การใช้  คือ  การนำเอากระบวนการผลิต  และออกแบบมาใช้จริง
4. การจัดการ  คือ  การวางแผน  ควบคุมให้เป็นไปตามแบบแผน
5. การประเมิน  คือ  การหาผลสรุปจากสิ่งที่เราสร้างขึ้น  เพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไป  

องค์ประกอบของเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. บุคลากร     
2. การเรียนรู้
3.  การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้  
4. การจัดการ        

เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
                เทคโนโลยีทางการศึกษาส่งผลโดยตรงกับการจัดการศึกษา  ทำให้ระบบการจัดการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของเทคโนโลยีทางการศึกษา  
1.             ทำให้การเรียนการสอนจัดการศึกษามีความหมาย
2.             สามารถสอนเรื่องความแตกต่างแต่ละบุคคลได้
3.             สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4.             ช่วยให้การศึกษามีพลังมหาชน
5.             สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6.             ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
7.             นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
          
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา  
                หมายถึง  การนำเอาความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องจักรกลไก มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการศึกษา

ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
           นวัตกรรม  คือ  จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี เพราะนวัตกรรม  หมายถึง  สิ่งใหม่ ๆ  ที่ตั้งอยู่ในระหว่างการศึกษา วิจัย  ที่ยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในระบบอย่างจริงจัง และเทคโนโลยี  คือ  เครื่องมือ วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

    เป้าหมายของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.             การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้        
2.             การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
3.             การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
4.             พัฒนาเครื่องมือ -  วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา

     แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
1.             ความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.             ความพร้อม
3.             การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4.             ประสิทธิภาพในการเรียน

     ประโยชน์ของนวัตกรรมของเทคโนโลยี
1.             ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2.             ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3.             ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
4.             ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
5.             ช่วยลดเวลาในการสอน
6.             ช่วยประหยัดค่าใช่จ่าย

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความสำคัญและประโยชน์ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

         นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  ทั้ง นี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อ ให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยว กับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพ่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเรื่อง  เช่น  ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ๆ  ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การ ใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การ ใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น  เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
 
นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ๆ  ดังต่อไปนี้
                1.  การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ๆ  มาใช้  เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น


                2.  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การ เรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ  ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนัก เทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้


               3.  การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ  ตามความสามารถของแต่ละคน

               4.  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้ นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
 



การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ  มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้
            1.  ความ เจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ  ของโลก  โดยเฉพาะระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา วิทยาการใหม่ๆ  และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ  ได้ถูกค้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในสังคมมากมายเป็นทวีคูณ  ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ของสถานศึกษา  และส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อไปถึงปัญหาการเรียนการสอน  การเลือกโปรแกรมและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่ๆ  ของนักเรียน  ความรุนแรงและความสลับซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ปริมาณเนื้อหาวิชาการใหม่ๆ  มีมากมายเกินความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง  จะเลือกบันทึกจดจำและนำเสนอในลักษณะเดิมได้  จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับ สถานการณ์เข้ามาช่วย  เช่น  การเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยเทปบันทึกเสียง  เทปบันทึกภาพ  ไมโครฟอร์ม  และแผ่นเลเซอร์  การแนะแนวการเรียนโดยระบบคอมพิวเตอร์  เป็นต้น
            2.  การ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม  ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวมา แล้ว  มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต  การปรับตัว  และพัฒนาการของนักเรียน  การแนะแนวส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน  จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ  จึงจะสามารถให้บริการครอบคลุมถึงปัญหาต่างๆ  ได้
           3.  ลักษณะ สังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีโทรคมนาคม  ทำให้ข่าวสารทุกรูปแบบ  คือ  เสียง  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  กราฟฟิก และข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถถ่ายทอดและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วทุกมุมโลก  สังคมในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นสังคมที่ท่วมท้นด้วยกระแสข้อมูลและข่าวสาร
 
            ประโยชน์ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
 
    การนำนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้จัดการเรียนการสอน  นอกจากจะส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของรายวิชาแล้ว  ยังมีประโยชน์ดังนี้
            1.  ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
            2.  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
            3.  ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้ สนุกสนาน
            4.  ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
          5.  ช่วยลดเวลาในการสอน
             6.  ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
 
 
ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา
ประโยชน์สำหรับผู้เรียน
            1.  ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเอง  ในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
            2.  ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถ
            3.  ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
          4.  ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
            5.  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา  ทุกสถานที่
            6.  ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
            7.  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
             8.  ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
             9.  ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
             10.  ฝึกให้ผู้เรียน  คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

      ประโยชน์สำหรับผู้สอน
          1.  ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
            2.  ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
            3.  ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
            4.  ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
            5.  ลดเวลาในการสอนน้อยลง
            6.  สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
          7.  ผู้สอนลดเวลาสอนในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง
             8.  ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
             9.  ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
             10.  ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย




ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี


              ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยี  (  Innovation  ) 
               นวัตกรรม    (  Innovation  )  มีรากศัพท์มาจาก Innovare  ในภาษาลาติน  แปลว่า  ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา

       ความหมายก็คือ  การกระทำใหม่ ๆ  หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลงจากสิ่งใด ๆ  แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น  ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการปฎิบัติงานนั้น ๆ  มากยิ่งขึ้น

          หลักในการพิจารณาการเป็นนวัตกรรม

            1.  จะต้องเป็นสิ่งที่มีจุดเด่นและสามารถทำงานนั้น ๆ  ได้ดีกว่าสิ่งเดิม
            2.  จะต้องมีการคัดเลือกว่าสิ่งที่จะนำมาใช้เป็นนวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมกับระบบการใช้งานนั้น ๆ หรือไม่
            3.  จะต้องมีการพิสูจน์จากงานวิจัยว่านวัตกรรมนั้นสามารถที่จะใช้ได้ผลจริงและได้ผลที่ดีกว่าของเดิมอย่างแน่นอน
             4.  จะต้องมีการพิจารณาว่าสิ่งที่จะนำมาเป็นนวัตกรรมนั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบหรือไม่

      ประเภทของนวัตกรรม  มี  2  ประเภท  ได้แก่

             1.  นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ขึ้น  คือ  นวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่หมดทั้งระบบ  ไม่เคยปรากฏขึ้นในที่ใดมาก่อน
             2.  นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน  คือ  นวัตกรรมที่อาจจะใช้ยังไม่ได้ผลที่ดีพอจึงมีการนำมาปรับปรุง  แก้ไข  ให้นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น

     นวัตกรรม  แบ่งออกเป็น  ระยะ  3  คือ

             ระยะที่  1  มีการประดิษฐ์คิดค้น  (  Innovation  )  หรือมีการปรับปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
             ระยะที่  2  พัฒนาการ  (  Development  )  มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน 
             ระยะที่  3  การนำเอาไปไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่ว

     นวัตกรรมการศึกษา  (   Educational  innovation  )                  นวัตกรรมการศึกษา  (   Educational  innovation  )    หมายถึง  นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา  และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

      แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา

            1.  นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่  จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าท้ายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
             2.  ผู้ที่ทำการวิจัยต้องการพิสูจน์เพื่อให้เห็นผลว่าจะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร
             3.  มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา

    ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา 

        ซึ่งจะมีทั้งนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วน แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้

         1. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน  เช่น    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน    คู่มือการทำงานกลุ่ม      บทเรียน CD/VCD

         2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เช่น      การสอนแบบร่วมมือ    การสอนแบบอภิปราย   การสอนแบบบทบาทสมมุติ 

         3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร เช่น     หลักสูตรสาระเพิ่มเติม   หลักสูตรท้องถิ่น

         4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมิน    เช่น     การสร้างแบบวัดต่างๆ   การสร้างเครื่องมือ

แนวทางในการสร้างแบบวัดผลและประเมินผล  เช่น        การสร้างแบบวัดแววครู   การพัฒนาคลังข้อสอบ

         5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ        เช่น        การบริหารเชิงระบบ     การบริหารเชิงกลยุทธ์  การบริหารเชิงบูรราการ

            ความหมายของเทคโนโลยี

                หมายถึง  หลักการ แนวคิด วิธีการ กระบวนการตลอดจนผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในระบบต่างๆ

      ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

                หมายถึง การนำเอาหลักแนวคิด วิธีการต่างๆ ตั้งอยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เข้ากับกระบวนการจัดการศึกษา