วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี


              ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยี  (  Innovation  ) 
               นวัตกรรม    (  Innovation  )  มีรากศัพท์มาจาก Innovare  ในภาษาลาติน  แปลว่า  ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา

       ความหมายก็คือ  การกระทำใหม่ ๆ  หรือการพัฒนาปรับปรุงหรือดัดแปลงจากสิ่งใด ๆ  แล้วทำให้สิ่งนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น  ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการปฎิบัติงานนั้น ๆ  มากยิ่งขึ้น

          หลักในการพิจารณาการเป็นนวัตกรรม

            1.  จะต้องเป็นสิ่งที่มีจุดเด่นและสามารถทำงานนั้น ๆ  ได้ดีกว่าสิ่งเดิม
            2.  จะต้องมีการคัดเลือกว่าสิ่งที่จะนำมาใช้เป็นนวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมกับระบบการใช้งานนั้น ๆ หรือไม่
            3.  จะต้องมีการพิสูจน์จากงานวิจัยว่านวัตกรรมนั้นสามารถที่จะใช้ได้ผลจริงและได้ผลที่ดีกว่าของเดิมอย่างแน่นอน
             4.  จะต้องมีการพิจารณาว่าสิ่งที่จะนำมาเป็นนวัตกรรมนั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบหรือไม่

      ประเภทของนวัตกรรม  มี  2  ประเภท  ได้แก่

             1.  นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ขึ้น  คือ  นวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่หมดทั้งระบบ  ไม่เคยปรากฏขึ้นในที่ใดมาก่อน
             2.  นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน  คือ  นวัตกรรมที่อาจจะใช้ยังไม่ได้ผลที่ดีพอจึงมีการนำมาปรับปรุง  แก้ไข  ให้นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น

     นวัตกรรม  แบ่งออกเป็น  ระยะ  3  คือ

             ระยะที่  1  มีการประดิษฐ์คิดค้น  (  Innovation  )  หรือมีการปรับปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
             ระยะที่  2  พัฒนาการ  (  Development  )  มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน 
             ระยะที่  3  การนำเอาไปไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่ว

     นวัตกรรมการศึกษา  (   Educational  innovation  )                  นวัตกรรมการศึกษา  (   Educational  innovation  )    หมายถึง  นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา  และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

      แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา

            1.  นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่  จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าท้ายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
             2.  ผู้ที่ทำการวิจัยต้องการพิสูจน์เพื่อให้เห็นผลว่าจะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร
             3.  มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา

    ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา 

        ซึ่งจะมีทั้งนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วน แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้

         1. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน  เช่น    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน    คู่มือการทำงานกลุ่ม      บทเรียน CD/VCD

         2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เช่น      การสอนแบบร่วมมือ    การสอนแบบอภิปราย   การสอนแบบบทบาทสมมุติ 

         3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร เช่น     หลักสูตรสาระเพิ่มเติม   หลักสูตรท้องถิ่น

         4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมิน    เช่น     การสร้างแบบวัดต่างๆ   การสร้างเครื่องมือ

แนวทางในการสร้างแบบวัดผลและประเมินผล  เช่น        การสร้างแบบวัดแววครู   การพัฒนาคลังข้อสอบ

         5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ        เช่น        การบริหารเชิงระบบ     การบริหารเชิงกลยุทธ์  การบริหารเชิงบูรราการ

            ความหมายของเทคโนโลยี

                หมายถึง  หลักการ แนวคิด วิธีการ กระบวนการตลอดจนผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในระบบต่างๆ

      ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

                หมายถึง การนำเอาหลักแนวคิด วิธีการต่างๆ ตั้งอยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เข้ากับกระบวนการจัดการศึกษา

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น